วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันศุกร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

นำเสนอ สื่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และสื่อของดิฉัน คือ
          ชื่อสื่อ " ฝาแฝด " 


วิธีการเล่น
  • ครูใช้คำถามกับเด็กว่า " อะไรที่เหมือนหรือคล้ายกัน " แล้วจับคู่ให้ถูกต้อง

ประโยชน์ของสื่อ 
  1.  เด็กได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของรูปเรขาคณิตที่เกิด จากการตัด ต่อเติม
  2. เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์รากรูปเรขาคณิต
  3. เด็กได้นำสิ่งต่างๆรอบตัวมาเชื่อมโยงกับวิชาคณิศาสตร์ผ่านการเล่น
สื่อที่ชื่นชอบคือ " สื่อฝาบอกจำนวน "


เหตุผลที่ชื่นชอบ >>>
  1.  สื่อนำทำมาจากขวดน้ำที่เหลือใช้แล้วนำมาสร้างคุณค่าทางวิชาร
  2. เด็กได้เรียนรู้เรื่องของจำนวนการนับจำนวน 1 - 10
  3. เด็กได้เรียนรู้ตัวเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
  4. สื่อนี้ได้พัฒนาการด้านร่างกาย คือ การใช้กล้ามเนื้อเล็กจากการหมุนฝาขวดน้ำ
ข้อเสนอแนะ>>> เพิ่มสีสันให้กับสื่อเพื่อเป็นแรงดึงดูดให้กับเด็ก และการเพิ่มขนาดจำนวนบนฝาใหญ่ขึ้นเพื่อที่เด็กจะได้เห็นชัดเจน






วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

วันนีเอาจารย์มอบหมายงานกลุ่ม ให้เขียนแผนการสอนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย โดยผ่านกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือ 
  1. กิจกรรมเสรี / การเล่นตามมุม
  2. กิจกรรมสร้างสรรค์
  3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  5. กิจกรรมกลางแจ้ง
  6. เกมการศึกษา
กลุ่มดิฉันเลือก กิจกรรมกลางแจ้งการเล่นน้ำ แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล 3 กิจกรม ตักๆเติมๆ

   แผนนี้มีการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์โดยผ่านกิจกกรรมการเล่นกลางแจ้ง โดยการเล่นน้ำ คือ ให้เด็กเติมน้ำใส่ขวดตามเวลาที่ครูกำหนดให้ แล้วนำขวดน้ำของแต่ละคนมาเปรียบเทียบระดับของน้ำ และช่วยกันเรียงลำดับจากมากไปน้อย และจากน้อยไปมาก 
  การเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์อ้างอิงมาจากกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยและหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546  หากเด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นเด็กก็จะเกิดการเรียนได้ดี เข้าใจได้ง่ายผ่านการปฏิบัติจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็ก และครูมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็น เพราะการที่เด็กได้ลองแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเองนั้นจะเป็นประสบการณ์ที่ดีของเด็กเอง และทุกครั้งหลังจากการจัดประสบการณ์เราควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ช่วยกันรวบรวมข้อมูล และให้เด็กได้เล่นตามจินตนาการก็จะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของเด็ก

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันศุกร์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

วันนี้อาจารย์มอบหมายงานกลุ่ม 2 งาน 
งานที่ 1 ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
งานที่ 2 ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ที่ 4 คือ พีชคณิต

กิจกรรมที่ 1
กลุ่มของดิฉันได้ทำ แผนภูมิแท่ง หัวข้อผลไม้ที่หนูชอบกินมากที่สุด เช่น กล้วย ชมพู่ มะม่วง ส้ม
  
สื่อที่สำเร็จแล้ว

 การนำเสนอสื่อการสอน
  

วิธีการนำเสนอและการนำไปใช้
  1. เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน เช่น ร้องเพลงผลไม้ เล่านิทานผลไม้ เล่มเกมชื่อผลไม้ เป็นต้น
  2. เทคนิคการเสริมแรงให้กับเด็กเช่น เกมใครยกมือเร็วที่สุดคนนั้นได้ออกมาติดชื่อที่ผลไม้ตัวเองชอบกินมากที่สุด
  3. สรุปกิจกรรมว่าจากกิจกรรมนี้ผลไม้ชนิดใดที่เด็กชอบมากที่สุด และชอบน้อยที่สุด
กิจกรรมที่ 2
กลุ่มของดิฉันทำขบวนเรือยาว สื่อการสอนพีชคณิต

เทคนิคการนำไปใช้


นิทานเรื่อง ยีราฟอยากเป็นใหญ่

      เช้านี้พระอาทิตย์ส่องแสงอ่อนๆ ท้องฟ้าและท้องทะเลก็แจ่มใส สายลมพัดโบกโบยเย็นฉ่ำชื่นใจจริงๆเลย เจ้ายีราฟคอยาวผิวปากเบาๆพร้อมร้องเพลงแสนอารมณ์ดี....^_^ ลั่น ลัน ล้า ลั้น ลัน ลา
วันนี้อากาศดีนั่งเรือไปเที่ยวรอบเกาะ ไปดูปะการัง และสัตว์ต่างๆใต้ท้องทะเลดีกว่า (ยีราฟพูด )
พอเจ้ายีราฟนั่งเรือได้ไม่นานนักก็เกิดอาการหงุดหงิด...!!! 
ยีราฟ : โอ๊ยๆๆๆทำไมคอยาวอย่างนี้เนี้ย เกะกะจังเลย เบื่อๆๆๆคอยาวๆแบบนี้แล้ว โอ๊ยๆๆๆๆ ทำยังไงดีละเนี้ยๆ อ๋อคิดออกแล้วฉันเป็นสิงโตดีกว่าจะได้เป็นใหญ่ในหมู่สัตว์ต่างๆ ไม่รอช้าเพี้ยงๆๆ  
" ฉันไม่อยากเป็นยีราฟอีกแล้ว ไม่อีกแล้ว ไม่อีกแล้ว เป็นสิงโตดีกว่า "
สิงโต : ว้าวๆสุดยอดไปเลยฉันกลายเป็นสิงโตเจ้าป่าแล้ว ลั้นลั้นลา มีความสุขจังเลย สิงโตสิงโตเจ้าป่าไปทำอะไรมาผมเผ้ารุงรัง เย้ๆๆๆสนุกจังเลย
พอเจ้าสิงโตนั่งเรือได้ไม่นานนักก็เกิดอาการหงุดหงิด...!!!
สิงโต : โอ๊ยๆๆๆทำไมผมถึงได้รกรุงรังแบบนี้นะ รำคาญแล้วร้อนก็ร้อนเหนียวก็เหนียว ฉันไม่อยาก   เป็นสิงโตแล้ว อ๋อเป็นเจ้าหมูดีกว่าจะได้ตัวอ้วนพลีน่ารักๆ
 " ฉันไม่อยากเป็นสิงโตอีกแล้ว ไม่อีกแล้ว ไม่อีกแล้ว เป็นเจ้าหมูดีกว่า "
เจ้าหมู : อู๊ดๆๆๆเป็นหมูช่างสุขสบาย กินแล้วนอน เที่ยวเล่นแสนสุขเอย ดีใจจังเลยเป็นเจ้าหมูนี่ดีจริงๆ เย้ๆๆๆๆ ลั้นลันลา 
พอเจ้าหมูเที่ยวเกาะได้ไม่นานนักก็เกิดอาการหงุดหงิด...!!!
เจ้าหมู : ฉันไม่อยากเป็นหมูแล้วอ้วนอึดอัด  หายใจไม่สะดวกไม่เอาแล้ว ฉันว่าไปเป็นยีราฟดีกว่า
 " ฉันไม่อยากเป็นเจ้าหมูอีกแล้ว ไม่อีกแล้ว ไม่อีกแล้ว เป็นยีราฟดีกว่า "
ยีราฟ : เป็นยีราฟนะดีแล้วแต่ฉันว่ามันคอยาวเกินไปเกะกะ ฉันว่าฉันเปลี่ยนไปเป็นสิงโตดีกว่า

 " ฉันไม่อยากเป็นยีราฟอีกแล้ว ไม่อีกแล้ว ไม่อีกแล้ว เป็นสิงโตดีกว่า "

สิงโต : ฉันว่าสิงโตนะเจ๋งสุดๆแล้ว ใครเห็นใครก็เกรงขาม ลั้นลันลา แต่เอ๊ะฉันเบื่อผมรุงรังนี่จังเลย เหนียวเนอะหนะ ฉันว่าฉันไปเป็นเจ้าหมูอู๊ดๆดีกว่า จะได้กินอาหารทะเลได้เยอะๆ 
  " ฉันไม่อยากเป็นสิงโตอีกแล้ว ไม่อีกแล้ว ไม่อีกแล้ว เป็นเจ้าหมูดีกว่า "
เจ้าหมู : ลั้นลันลา ฉันว่าเป็นหมูสบายสุดๆแล้ว แถมกินอาหารเยอะๆได้ด้วย วันนี้ฉันจะเป็นหมูไป เที่ยวเกาะดีกว่าเสียเวลาเลือกมานานแล้ว ตอนเย็นจะได้กลับไปกินอาหารทะเลสดๆ กุ้งตัวใหญ่ๆ ปลาหมึกหวานๆ หอยสดๆ คิดแล้วน้ำลายไหล ฉันขอตัวไปเที่ยวก่อนไว้คุยกันใหม่  บ๊ายๆบายๆ
 " ฉันไม่อยากเป็นอะไรอีกแล้ว ไม่อีกแล้ว ไม่อีกแล้ว เป็นเจ้าหมูดีกว่า  "
( เรื่อง : กมลพรรณ :  ภาพ : งานกลุ่ม )

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วันศุกร์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

เนื้อหาการเรียนการสอนในวันนี้ เรื่องกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งดิฉันสามารถสรุปใจความได้ดังนี้
   :  การเรียนคณิตศาสตร์เป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กด้านต่างๆที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ เช่น การแก้ไขปัญหา การสังเกต การคิด การสำรวจ ซึ่งสิ่งต่างเหล่านี้เด็กก็จะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันทั้งปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
   มาตรฐาน ค.บ. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จากภาพนี้จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ 
เด็กชั้นอนุบาล 1 ใช้คำถามว่า เด็กผู้หญิงหรือเด็กชายเยอะกว่ากัน
เด็กชั้นอนุบาล 2 ใช้คำถามว่า ภาพนี้มีทั้งหมดกี่คน
เด็กชั้นอนุบาล 3 ใช้คำถามว่า มากกว่ากี่คน
สาระที่ 2 การวัด
   มาตรฐาน ค.บ.  2.1 มีความเข้าใจเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ภาพนี้สามารถให้เด็กเรียนรู้เรื่องการชั่งน้ำหนักได้
สาระที่ 3 เรขาคณิต
   มาตรฐาน ค.บ. 3.1 คำที่ใช้บอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง เช่น บน ล่าง ซ้าย ขวา เป็นต้น
   มาตรฐาน ค.บ. 3.2 จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระจัด
ภาพนี้เด็กเรียนรู้เรียนของเรขาคณิต และการนำความรู้รอบๆตัวมาใช้
สาระที่ 4 พีชคณิต
   มาตรฐาน ค.บ. 4.1 เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ คือ แบรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่มีความสัมพันธ์กัน      อย่างใดอย่างหนึ่ง
ภาพนี้เด็กเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสี และเรียนรู้การนับตัวเลข
สาระที่ 5 การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  มาตรฐาน ค.บ. 5.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
   มาตรฐาน ค.บ. 6.1 แก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยงคณิตกับศาสตร์อื่น และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ดิฉันเชื่อว่าวิชาคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสอนให้เด็กเข้าใจและจดจำได้ แต่เมื่อเราเป็นครูแล้วการมีเทคนิคที่หลากหลาย การจัดประสบการณ์ที่ให้เด็กสามารถเรียนรู้ผ่านการเล่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับตัวดิฉันแล้ว เทคนิคที่จะใช้คือการนำนิทานมาบูรณาการกับเรื่องจำนวน การนำเพลงมาสอนที่สอดแทรกคณิตศาสตร์ การนำสื่อการสอนมาใช้  การละเล่นเด็กไทย กิจกรรมสร้างสรรค์ เกมการศึกษา และที่สำคัญเราควรจัดให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ค่ะ

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5



บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

 วันนี้อาจารย์ให้สร้างสรรค์ผลงานจากรูปเลขาคณิต มีให้เลือกทั้ง วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
ดิฉันเลือกวงกลมมาเป็นแบบในการสร้างสรรค์

นิทานเรื่อง ปลาจอมเกเร
  ณ ใต้ท้องทะเลที่มีปะการังหลากหลายสายพันธุ์ที่พลิ้วโบกสบัดพัดไปมาตามกระแสน้ำทะเล และยังมีหมู่กุ้ง หอย ปู ปลา นานาชนิด ที่อยู่รวมกันอย่างมีความสุข แต่ก็ปลาจอมเกเรตัวหนึ่ง ชื่อ "ปลาเกล็ดเงิน" ที่คอยแต่ไปเกเร แกล้งสัตว์ตัวอื่นๆอยู่ทุกวี่ทุกวัน จนสัตว์น้ำต่างๆทนไม่ไหว แล้วพากันไปฟ้องปลาดาวผู้มีคาถาปกป้องใต้ท้องทะเล ปลาดาวได้ยินเช่นนั้นจึงไปหาเจ้าปลาเกล็ดเงิน
ปลาดาว : สวัสดีปลาเกล็ดเงิน เจ้ารู้ตัวหรือเปล่าว่าเจ้าทำให้สัตว์ต่างๆเดือดร้อน
ปลาเกล็ดเงิน : ฮ่าๆๆๆๆก็มันสนุกนี่นา ใครจะเป็นอย่างไรฉันไม่สนหรอกน่ะ
ปลาดาว : งั้น...ถ้าเจ้าพูดแบบนี้ เจ้าจะได้รับบทเรียนที่ชอบไปแกล้งผู้อื่นเพื่อความสนุกจนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
พอปลาดาวพูดเสร็จก็เสกคาถา : โอม โอม โอม โอม ปากงปากี้ ปากี้ปาก้า เจ้าปลาเกล็ดหาย เพี้ยงๆๆ..!!
ปลาเกล็ดเงินตกใจที่เกล็ดอันแสนสวยหายไป แล้วอ้อนวอนปลาดาวให้คืนเกล็ดให้แต่ปลาดาวไม่คืนให้จนกว่าปลาเกล็ดเงินจะสำนึกผิด 
ปลาดาว : เจ้าจะได้เกล็ดสีเงินคืนก็ต่อเมื่อเจ้าเลิกนิสัยเกเร และทำความดีครบ 5 ข้อ
ปลาเกล็ดเงินได้ยินเช่นนั้นก็รับปากทันทีว่าจะไม่ทำนิสัยเกเรอีกแล้ว ได้แต่ไปขอโทษสัตว์ต่างๆแต่เกล็ดสีเงินอันแสนสวยก็ยังไม่กลับมา ปลาเกเรได้แต่นึกว่าทำไมเกล็ดยังไม่กลับมาทั้งๆที่ไปขอโทษสัตว์ต่างๆแล้ว 
ปลาเกล็ดเงิน : อ๋อๆๆๆนึกออกแล้วเราต้องทำความดีให้ครบ 5 ข้อนี่นาถึงจะได้เกล็ดคืน พอนึกออกเจ้าปลาก็รีบไปทำความดีทันที
ข้อที่ 1 เจ้าปลาเกล็ดเงินไปช่วยทำความสะอาดกระดองให้เจ้าเต่า
ข้อที่ 2 เจ้าปลาเกล็ดเงินไปช่วยดึงเจ้าหอยที่จมอยู่ใต้โคลน
ข้อที่ 3 เจ้าปลาเกล็ดเงินช่วยม้าน้ำที่หลงทาง
ข้อที่ 4 เจ้าปลาเกล็ดเงินช่วยแม่เลี้ยงน้อง
ข้อที่ 5 เจ้าปลาเกล็ดเงินแบ่งอาหารให้กุ้งกิน
ปลาดาวเห็นความตั้งใจของปลาเกล็ดเงินที่ทำความดีและเลิกนิสัยแกล้งเพื่อน
ปลาดาว : เจ้าปลาเกล็ดเงินเจ้าเห็นแล้วใช่ไหมว่าแกล้งคนอื่นมันเดือดร้อนแค่ไหน ต่อไปนี้เจ้าจงรักษาความดี อยู่กับเพื่อนเล่นกับเพื่อนให้ดีดี ถึงจะอยู่ด้วยกันได้ พอพูดจบปลาดาวก็เสกคาถา : โอม โอม โอม โอม ปากงปากี้ ปากี้ปาก้า เกล็ดสวยจงกลับมา เพี้ยงๆๆ..!!
ปลาเกล็ดเงิน : ว้าวๆๆเกล็ดอันแสนสวยกลับมาแล้ว ขอบคุณมากนะครับปลาดาว ต่อไปนี้ผมจะไม่แกล้งใครแล้วครับ ผมจะทำความดีต่อไปและจะอยู่กับสัตว์ทุกตัวอย่างมีความสุข
หลังจากนั้นใต้ท้องทะเลต่างก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขและทำให้ใต้ทะเลสวยงามทั้งน้ำใจและสีสันอันงดงาม
เรื่องและภาพ : กมลพรรณ แสนจันทร์
 

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์รูปสัตว์ต่างจากรูปเรขาคณิต และนิทานเรื่องนี้สามารถสอนเด็กในเรื่องของคณิตศาสตร์ไปในตัว ในการทำความดีของปลาดาวที่มีจำนวน 5 ข้อ
 เราสามาาถสอนให้เด็กพูดความดีจากข้อ 5 ไปข้อ 1 ได้ เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องการนับถอยหลัง และเรื่องขององค์ประกอบต่างๆก็เรียนรู้เรื่องเรขาคณิต เช่น ฟองอากาศเป็นวงกลม เป็นต้น


วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาในการเรียนวันนี้ : วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนองาน และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 นำเสนอเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
ความรู้ที่ได้รับ : สอนให้เด็กเข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
  1. นับปากเปล่าจาก 1ถึง 20 และสามารถนับถอยหลังได้จาก 10 ถึง 1
  2. บอกจำนวนสิ่งของต่างๆได้ไม่เกิน 20
  3. อ่านและเขียนตัวเลขได้
  4. เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของต่างๆได้
  5. การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
กลุ่มที่ 2 นำเสนอเรื่อง การวัด
ความรู้ที่ได้รับ : สอนให้เด็กเข้าใจถึงพื้นฐานการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
  1. วัดและบอกความยาวของสิ่งต่างๆรอบตัวได้ เช่น วัดความสูงโดยการใช้ตุ๊กตา
  2. ชั่งและบอกน้ำหนักของสิ่งต่างๆได้ เช่น การชั่งน้ำหนักของตัวเด็กเองและสามารถบอกน้ำหนักได้
  3. ตวงและบอกปริมาตรของสิ่งต่างๆได้ โดยใช้เครื่องที่เหมาะสม
  4. บอกชนิดและค่าของเงินได้ เช่น 1บาท 2บาท 5บาท 10บาท และธนบัตร 20 บาท
กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง เรขาคณิต
ความรู้ที่ได้รับ : สอนให้เด็กรู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการจัดกระทำ
  1. บอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง ของสิ่งต่างๆได้ เช่น ดวงดาวอยู่บนท้องฟ้า พื้นดินอยู่ด้านล่าง ข้างในห้องเรียน  ข้างนอกห้องเรียน ข้างหน้า ข้างหลัง ซ้ายมือ ขวามือ ส่วนระยะทาง เด็กอาจบอกว่าจากบ้านหนูไปถึงร้านค้าห่างกัน 3 หลัง
  2. รู้จักจำแนกของรูปเรขาคณิต ที่เด็กๆที่เห็นที่เหมือนหรือคล้าย ทรงกลม ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงรี ได้โดยเด็กแต่ละคนอาจจะตอบไม่เหมือนกันเกิดจากความรู้เดิมของเด็กและประสบการณ์ของเด็กที่แตกต่างกัน และเด็กนำรูปเรขาคณิตมาต่อ เติม ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ เช่น ทรงกลมเด็กอาจสร้างสรรค์เป็นแตงโม หรือ ดวงอาทิตย์ได้  
                 
กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง พีชคณิต
ความรู้ที่ได้รับคือ : สอนให้เด็กเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
  1. ต่อแบบรูปให้เข้าชุดกับแบบรูปที่กำหนด
  2. สร้างแบบรูปตามความคิดของตนเอง
กลุ่มที่ 5 นำเสนอเรื่อง วิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ความรู้ที่ได้รับ : สอนให้เด็กรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
  1. มีส่วนร่วมในการให้และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
  2. ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การสุ่มหยิบลูกปิงปองในแก้ว ซึ่งลูกปิงปองมี 2 ลูก สีละลูกแล้วให้เด็กคาดว่าจะหยิบได้ลูกสีไหน
ผู้ที่สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย




วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


 เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  
     
1. จุดมุ่งหมายทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เพื่อให้เด็กเข้ามจพื้นฐานคณิตศาสตร์
  • เพื่อพัฒนามโนภาพทางคณิตศาสตร์
  • ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตัวเอง
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  • การสังเกต
  • การจำแนกประเภท
  • การเปรียบเทียบ
  • การจัดลำดับ
  • การวัด
  • การนับ
  • รูปทรงและขนาด

กิจกรรมในวันนี้  ตัวเลขที่ชอบกับกลีบที่ใช่
  อาจารย์ให้วงกลมตรงกลางหน้ากระดาษ 1 วง แล้วให้นักศึกษาใส่ตัวเลขที่ตนเองชอบไว้ตรงกลางวงกลม หลังจากนั้นก็ให้เราใส่กลีบดอกไม้ ตามจำนวนตัวเลขที่เราใส่ พร้อมตกแต่งให้สวยงาม  

นิทานเรื่อง ดอกไม้อยากมีเพื่อน
  ช่วงฤดูร้อนท่ามกลางสายลมที่พัดผ่าน และมีแสงแดดอันอบอุ่น ก็มีหมู่มวลดอกไม้ออกดอกผลิบาน และกระจายเมล็ดพันธุ์ออกไปเพื่อรอเวลาเติบโต  ทุกๆเมล็ดพันธุ์ก็ต่างถูกสายลมพัดพาไปสถานที่ต่างๆ แต่มี 1 เมล็ดพันธุ์ที่โชคร้ายถูกพัดพาไปโลกภายนอก แล้วจึงตกไปที่ทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่เพียงเมล็ดเดียว แต่เวลาไม่นานเมล็ดพันธุ์ก็ค่อยๆเจริญเติบโต ชูกลีบ ชูช่อ อวดทุ่งหญ้า เพียงต้นเดียว ดอกไม้รู้สึกอ้างว้างมองไปที่ใดก็ไม่มีใครที่เหมือนตนเองเลยสักต้น เมื่อถึงเวลาค่ำดอกไม้ก็ได้แต่นอนเหงา และเฝ้ารอเพื่อนๆ แต่เช้าวันนี้ที่สดใส มีสายลมอ่อนๆ แดดอุ่นๆ แล้วจู่ๆก็มีผีเสื้อ 2 ตัวบินผ่านมาเพื่อมาหาอาหาร แล้วจึงพบกับดอกไม้ ผีเสื้อจึงเข้าไปถามดอกไม้ว่า ทำไมเธอจึงมีแค่ดอกเดียว หมู่เพื่อนๆเธอไปไหนกันหมดล่ะ  ดอกไม้จึงตอบด้วยน้ำเสียงสั่นคลอว่า ฉันถูกพัดมาตรงนี้แค่ดอกเดียว ฉันเหงา ฉันอยากมีเพื่อน ฮือๆๆๆๆๆT_T  ผีเสื้อฟังแล้วก็เศร้าใจ จึงปลอบใจดอกไม้ว่า โอ๋ๆๆๆเธออย่าร้องให้เลยนะเดี๋ยวอีกไม่นานเธอก็มีเมล็ดพันธุ์แล้วเมล็ดพันธุ์ก็จะเจริญเติบโตมาเป็นเพื่อนเธอไง แต่ตอนนี้เดี๋ยวเรา 2 ตัวจะอยู่เป็นเพื่อนเธอเองน่ะ แต่เอๆๆๆ เธอคือดอกอะไรน๊า..?
ผีเสื้อจึงบินดูรอบแล้วนับกลีบของดอกไม้ กลีบที่ 1 2 3 4 5 6 โหๆๆเธอมีกลีบ 6 กลีบ เอ่อๆๆงั้นฉันตั้งชื่อให้เธอว่า ดอกบานชมพู แล้วกันนะ   
ดอกไม้ได้ฟังเช่นนั้นก็ดีใจ จนน้ำตาไหล และขอบคุณผีเสื้อที่ใจดี หลังจากนั้นผีเสื้อและดอกไม้จึงเป็นเพื่อนรักกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาจนถึงทุกวันนี้.....^_^
( เรื่องและภาพ : กมลพรรณ แสนจันทร์ )


สิ่งที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
  แค่ดอกไม้เพียงดอกเดียวก็สามารถนำมาเป็นนิทานให้เด็กๆฟัง ซึ่งในเนื้อหาสอนเด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้โดยผ่านนิทานสนุกๆ เช่น รูปทรงและขนาด การนับ สังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก จัดลำดับ การวัด  และก็สามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นซึ่งก็เป็นสิงสำคัญเช่นเดียวกัน